Adoption in Thailand under Thai civil law involves the creation of the parent-child relationship between individuals who are not naturally so related. Below the civil code Titel II Chapter IV and Thai civil law on adoption and the rights, privileges, and duties of a child adoption in Thailand.

Chapter V

ADOPTION

table of contents

Section 1598/19. A person who is not less than twenty five years old may adopt another, provided he is at least fifteen years older than the adopted person.

Section 1598/20. If the person to be adopted is not less than fifteen years of age, the adoption can take place only with the consent of the adopted person.

Section 1598/21. If the person to be adopted is the minor, the adoption can take place only with the consent of his parents, but if one of his parents died or has been deprived of his or her parental powers, consent thereto has to be given by his father or mother who has parental power.

If there is no person to give consent under paragraph one or the father or mother, or parents cannot express his or her consent thereto or refuses to give his or her consent, and the refusal has been made unreasonably and has adversely affected the health, progress and welfare of the minor, the mother or father, the person intending to be the adoptor or the Public Prosecutor may apply to the Court for an order allowing the adoption in lieu of giving consent thereto under paragraph one.

Section 1598/22. In case the minor to be adopted has been deserted and been under supervision of an institution for child welfare under the law on child welfare and protection, the institution shall give consent on behalf of his parents. If the institution refuses to give such consent, the provisions of paragraph two of Section 1598/21 shall apply, mutatis mutandis.

Section 1598/23. In case the minor to be adopted has not been deserted but has been under supervision of an institution for child welfare under the law on child welfare and protection, the parents or one of the parents, in case the other died or whose parental power has been deprived, may make a letter of power entrusting the said institution to give consent to the adoption, and the provisions of Section 1598/22 shall apply, mutatis mutandis.

The letter of power under paragraph one cannot be revoked as long as the minor is supported and maintained by that institution.

Section 1598/24. The person who has the power to give consent to the adoption on behalf of the institution under Section 1598/22 or Section 1598/23 may adopt the minor being under supervision and support of the institution as his own adopted child if the Court has granted the application made by the said person in lieu of giving consent thereto by the institution.

Section 1598/25. A married person who is to adopt or is to be adopted, must obtain consent of his or her spouse. If his or her spouse cannot express the consent or has left the domicile or residence and no news of him has ever been received for not less than one year, the application for the Court’s permission in lieu of the consent by the spouse must be made.

Section 1598/26. A minor who is an adopted child of any person cannot concurrently be an adopted of another person except an adopted of the spouse of the adoptor.
If one spouse will adopt the minor who has already been the adopted child of the other as his or her adopted child, the consent thereto must be obtained from the latter, and Section 1598/21 shall not apply.

Section 1598/27. Adoption is valid upon registration being effected according to law. If the person to be adopted is a minor, it has to comply firstly with the law on the adoption of the child.

Section 1598/28. An adopted child acquires the status of a legitimate child of the adoptor, but none of his rights and duties in the family to which he belongs by birth are prejudiced thereby. In such , the natural parent lose parental power, if any, from the time when the child is adopted.

The provisions of Title 2 (Title II 'Parent and Childstarting with Section 1536, Chapter I 'Parentage') of this book shall apply mutatis mutandis.

Section 1598/29. Adoption does not creates to the adoptor the right of a statutory heir to the inheritance of the adopted.

Section 1598/30. If the adopted dies without a spouse or descendant before the adoptor, the adoptor is entitled to claim from the estate of the adopted the properties which were given to the adopted by the adoptor and which still exist in kind after the liquidation of the estate.

No action for claiming the right under paragraph one shall be entered later that one year as from the day when the adoptor has known or ought to have known the death of the adopted, or later than ten years as from the death of the adopted.

Section 1598/31. If the adopted has become sui juris, the dissolution of adoption may be made at any time by mutual consent of the adopted.

If the adopted is not yet sui juris the dissolution of adoption shall take place after the consent of the parents has been obtained, and Section 1598/20 and Section 1598/21 shall apply mutatis mutandis.

In case where the adoption has been effected under paragraph two of Section 1598/21, Section 1598/22, Section 1598/24 or paragraph two of Section 1598/26, if the adopted is not yet sui juris, the dissolution of adoption shall be effected only by the order of the Court upon application of an interested person or of the Public Prosecutor.

The dissolution is valid only upon registration being effected according to law.

Section 1598/32. The adoption will become dissolved if the marriage is made in contravention of Section 1451 (section 1451: An adopter cannot marry the adopted).

Section 1598/33. As regards action for dissolution of adoption:

  1. if one party is guilty of serious misconduct whether it be a criminal offence or not, which causes the other very much ashamed or being hated, or sustaining excessive injury or trouble, the latter may claim dissolution
  2. if one party has seriously insulted or held in serious contempt the other or his ascendants, the latter may claim dissolution, and if the said commission has been done against the spouse of the adoptor by the adopted, the adoptor may claim dissolution;
  3. if one party has committed any act of violence against the other, his ascendants or his spouse which causes grave danger to the body or mind and constitutes offence criminally punishable, the latter may claim dissolution;
  4. if one party does not maintain the other, the latter may claim dissolution;
  5. if one party has willfully deserted the other for more than one year, the latter may claim dissolution;
  6. if one party has been sentenced to imprisonment exceeding three years, except an offence committed through negligence, the other may claim dissolution;
  7. if the adoptor fails to comply with his parental duties and such failure constitutes a wrongful act or non-compliance with Section 1564, Section 1571, Section 1573, Section 1574 or Section 1575 which caused or would have caused serious injury to the adopted, the adopted may claim dissolution;
  8. if the adoptor has been deprived partly or wholly of his parental power, and the grounds for such deprivation bears circumstantial evidence showing that the adoptor is not the proper person to be adoptor further, the adopted may claim dissolution;
  9. (Repealed)

Section 1598/34. No action for dissolution of adoption shall be entered later than one year from the day when the claimant has known or ought to have known of the fact constituting the ground for dissolution, or later that ten years from the time of the occurrence of such fact.

Section 1598/35. If the adopted is under fifteen years old, the action for dissolution of adoption shall be entered on his or her behalf by the inborn parents. As regards the adopted being more than fifteen years old, he or she can enter the action without having to obtain consent from any person.

The Public Prosecutor may, in case under paragraph one, enter the action on behalf of the adopted.

Section 1598/36. Dissolution pronounced by the Court takes effect on and from the time when the judgment becomes final. However, it may not be set up to the prejudice of the rights of third persons acting in good faith unless it has been registered.

Section 1598/37. Upon death of a child adopter or a dissolution of a child adoption, the natural parents shall, in the case of the adopted child not yet becoming sui juris, recover the parental power from the date of the death of the child adopter or from the date of the child adoption dissolution registration under Section 1598/1 or from the date on which the final judgment affecting such child adoption dissolution has been pronounced by the Court unless the Court has otherwise expediently decided.

In case where a guardian of an adopted child has been appointed prior to the death of a child adopter or prior to the child adoption dissolution, such guardian’s existing power and duties shall continue unless the child’s natural parents have otherwise petitioned the Court and that the Court has issued an order restoring the parental power upon such petitioners.

A change in the person exercising the parental power under paragraph one or the guardian under paragraph two above shall not prejudice the rights of the third person acquired in good faith prior to the child adoption registration dissolution.

The Public Prosecutor shall be the person empowered to submit a petition to the Court in order to have the Court issue an order otherwise in accordance with paragraph one above.

table of contents

Prev Next

In Thai: 

หมวด 4

บุตรบุญธรรม

มาตรา 1598/19 บุคคลที่มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีจะรับบุคคลอื่น เป็นบุตรบุญธรรมก็ได้ แต่ผู้นั้นต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม อย่างน้อยสิบห้าปี

มาตรา 1598/20 การรับบุตรบุญธรรม ถ้าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบปีห้าปี ผู้นั้นต้องให้ความยินยอมด้วย

มาตรา 1598/21 การรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมจะกระทำได้ ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดาและมารดาของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งตายหรือถูกถอนอำนาจปกครอง ต้องได้รับความยินยอมของมารดาหรือบิดาซึ่งยังมีอำนาจปกครอง

ถ้า ไม่มีผู้มีอำนาจให้ความยินยอมดังกล่าวในวรรคหนึ่ง หรือมีแต่บิดา หรือมารดาคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคน ไม่สามารถแสดงเจตนาให้ ความยินยอมได้ หรือไม่ให้ความยินยอมนั้นปราศจากเหตุผลอันสมควร และเป็นปฏิปักษ์ต่อสุขภาพความเจริญหรือสวัสดิภาพของผู้เยาว์ มารดาหรือบิดาหรือผู้ประสงค์ขอรับบุตรบุญธรรมหรืออัยการจะร้องขอ ต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอม

มาตรา 1598/22 การรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมถ้าผู้เยาว์เป็นผู้ถูก ทอดทิ้งและอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์เด็กตามกฎหมายว่าด้วย การสงเคราะห์และคุ้มครองเด็ก ให้สถานสงเคราะห์เด็กเป็นผู้ให้ความ ยินยอมแทนบิดาและมารดา ถ้าสถานสงเคราะห์เด็กไม่ให้ความยินยอม ให้นำความใน มาตรา 1598/21 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 1598/23 ในกรณีที่ผู้เยาว์มิได้ถูกทอดทิ้งแต่อยู่ในความ อุปการะเลี้ยงดูของสถานสงเคราะห์เด็กตามกฎหมายว่าด้วยการ สงเคราะห์ และคุ้มครองเด็ก บิดาและมารดา หรือบิดาหรือมารดา ในกรณีที่มารดาหรือบิดาคนใดคนหนึ่งตายหรือถูกถอนอำนาจปกครอง จะทำหนังสือมอบอำนาจให้สถานสงเคราะห์เด็กดังกล่าวเป็นผู้มีอำนาจ ให้ความยินยอมในการรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมแทนตนก็ได้ ใน กรณีเช่นนั้นให้นำความใน มาตรา 1598/22 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

หนังสือมอบอำนาจตามวรรคหนึ่งจะถอนเสียมิได้ตราบเท่าที่ ผู้เยาว์ยังอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของสถานสงเคราะห์เด็กนั้น

มาตรา 1598/24 ผู้มีอำนาจให้ความยินยอมแทนสถานสงเคราะห์เด็ก ในการรับบุตรบุญธรรมตาม มาตรา 1598/22 หรือ มาตรา 1598/23 จะรับ ผู้เยาว์ซึ่งอยู่ในความดูแลหรืออยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของสถานสงเคราะห์ เด็กนั้นเป็นบุตรบุญธรรมของตนเอง ได้ต่อเมื่อศาลได้มีคำสั่งอนุญาตตามคำขอ ของผู้นั้นแทนการให้ความยินยอมของสถานสงเคราะห์เด็ก

มาตรา 1598/25 ผู้จะรับบุตรบุญธรรมหรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสอยู่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน ในกรณีที่คู่ สมรสไม่อาจให้ความยินยอมได้หรือไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และหาตัวไม่พบเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ต้องร้องขอต่อศาลให้มี คำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมของคู่สมรสนั้น

มาตรา 1598/26 ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่จะ เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่เป็น บุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม

ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียนรับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของ คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของตนด้วยจะต้องได้รับความ ยินยอมของคู่สมรสซึ่งเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมอยู่แล้วและมิให้นำ มาตรา 1598/21 มาใช้บังคับ

มาตรา 1598/27 การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ จดทะเบียนตามกฎหมาย แต่ถ้าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมนั้นเป็นผู้เยาว์ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก่อน

มาตรา 1598/28 บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตร ชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น แต่ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมา ในกรณีเช่นนี้ ให้บิดามารดาโดยกำเนิด หมดอำนาจปกครองนับแต่วันเวลาที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว
ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 2 หมวด 2 แห่งบรรพนี้มาใช้บังคับ โดยอนุโลม

มาตรา 1598/29 การรับบุตรบุญธรรมไม่ก่อให้เกิดสิทธิรับมรดก ของบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรมเพราะเหตุการณ์รับบุตร บุญธรรมนั้น

มาตรา 1598/30 ถ้าบุตรบุญธรรมซึ่งไม่มีคู่สมรสหรือผู้สืบสันดาน ตายก่อนผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สิน ที่ตนได้ให้แก่บุตรบุญธรรมคืนจากกองมรดกของบุตรบุญธรรมเพียงเท่า ที่ทรัพย์สินนั้นยังคงเหลืออยู่ภายหลังที่ชำระหนี้ของกองมรดกเสร็จสิ้นแล้ว

ห้ามมิให้ฟ้องคดีเรียกร้องสิทธิตามวรรคหนึ่ง เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เวลาที่ผู้รับบุตรบุญธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของบุตร บุญธรรม หรือเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่วันที่บุตรบุญธรรมตาย

มาตรา 1598/31 การเลิกรับบุตรบุญธรรม ถ้าบุตรบุญธรรมบรรลุ นิติภาวะแล้ว จะเลิกโดยความตกลงกันในระหว่างผู้รับบุตรบุญธรรมกับ บุตรบุญธรรมเมื่อใดก็ได้

ถ้าบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ การเลิกรับบุตรบุญธรรมจะทำได้ ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดาและมารดา และให้นำ มาตรา 1598/20 และ มาตรา 1598/21 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ในกรณีที่ได้รับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมตาม มาตรา 1598/21 วรรคสอง มาตรา 1598/22 มาตรา 1598/23 มาตรา 1598/24 หรือ มาตรา 1598/26 วรรคสอง ถ้าบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ การเลิกรับบุตร บุญธรรมให้กระทำได้ต่อเมื่อมีคำสั่งศาลโดยคำร้องขอของผู้มีส่วนได้เสีย หรือ อัยการ

การเลิกรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย

มาตรา 1598/32 การรับบุตรบุญธรรมย่อมเป็นอันยกเลิกเมื่อมีการ สมรสฝ่าฝืน มาตรา 1451

มาตรา 1598/33 คดีฟ้องเลิกการรับบุตรบุญธรรมนั้น เมื่อ

(1) ฝ่ายหนึ่งทำการชั่วร้ายไม่ว่าจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ เป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง หรือถูกเกลียดชัง หรือได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้
(2) ฝ่ายหนึ่งหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่ง หรือบุพการี ของอีกฝ่ายหนึ่งอันเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้ ถ้าบุตร บุญธรรมกระทำการดังกล่าวต่อคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมให้ผู้รับ บุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้
(3) ฝ่ายหนึ่งกระทำการประทุษร้ายอีกฝ่ายหนึ่ง หรือบุพการีหรือคู่สมรส ของอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจอย่างร้ายแรงและ การกระทำนั้นเป็นความผิดที่มีโทษอาญา อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้
(4) ฝ่ายหนึ่งไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องเลิกได้
(5) ฝ่ายหนึ่งจงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้อง เลิกได้
(6) ฝ่ายหนึ่งต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเกินสามปี เว้นแต่ความผิด ที่กระทำโดยประมาท อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้
(7) ผู้รับบุตรบุญธรรมทำผิดหน้าที่บิดามารดา และการกระทำนั้นเป็น การละเมิดหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 1564 มาตรา 1571 มาตรา 1573 มาตรา 1574 หรือ มาตรา 1575 เป็นเหตุให้เกิดหรืออาจเกิดความเสียหาย อย่างร้ายแรงต่อบุตรบุญธรรม บุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้
(8) ผู้รับบุตรบุญธรรมผู้ใดถูกถอนอำนาจปกครองบางส่วน หรือทั้งหมด และเหตุที่ถูกถอนอำนาจปกครองนั้นมีพฤติการณ์ แสดงให้เห็นว่าผู้นั้นไม่สมควร เป็นผู้รับบุตรบุญธรรมต่อไป บุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้
(9) (ยกเลิก)

มาตรา 1598/34 ห้ามมิให้ฟ้องขอเลิกการรับบุตรบุญธรรมเมื่อพ้น กำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ขอเลิกการรับบุตรบุญธรรมรู้หรือควรได้รู้ ข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้เลิกการนั้น หรือเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่ เหตุนั้นเกิดขึ้น

มาตรา 1598/35 การฟ้องเลิกการรับบุตรบุญธรรม ถ้าบุตรบุญธรรมมี อายุไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ ให้บิดามารดาโดยกำเนิดเป็นผู้มีอำนาจฟ้องแทน แต่ถ้าบุตรบุญธรรมมีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์แล้วบุตรบุญธรรมฟ้องได้โดยไม่ต้อง ได้รับความยินยอมจากผู้ใด
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง อัยการจะฟ้องคดีแทนบุตรบุญธรรมก็ได้

มาตรา 1598/36 การเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยคำพิพากษาของศาล ย่อมมีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด แต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของ บุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่ได้จดทะเบียนแล้ว

มาตรา 1598/37 เมื่อผู้รับบุตรบุญธรรมตายหรือมีการเลิกรับบุตรบุญธรรม ถ้าบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้บิดามารดาโดยกำเนิดกลับมีอำนาจปกครองนับแต่เวลาที่ผู้รับบุตรบุญธรรมตาย หรือนับแต่เวลาที่จดทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรมตาม มาตรา 1598/31 หรือนับแต่เวลาที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เลิกการรับบุตรบุญธรรม เว้นแต่ศาลเห็นสมควรสั่งเป็นประการอื่น

ในกรณีที่มีการตั้งผู้ปกครองของผู้เป็นบุตรบุญธรรมไว้ก่อนผู้รับบุตรบุญธรรมตาย หรือก่อนการเลิกรับบุตรบุญธรรม ให้ผู้ปกครองยังคงมีอำนาจหน้าที่เช่นเดิมต่อไป เว้นแต่บิดามารดาโดยกำเนิดจะร้องขอ และศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องขอเป็นผู้มีอำนาจปกครอง
การเปลี่ยนผู้ใช้อำนาจปกครองตามวรรคหนึ่ง หรือผู้ปกครองตามวรรคสองไม่เป็นเหตุเสื่อมสิทธิที่บุคคลภายนอกได้มา โดยสุจริตก่อนผู้รับบุตรบุญธรรมตายหรือก่อนจดทะเบียนเลิกการรับ บุตรบุญธรรม

ให้พนักงานอัยการเป็นผู้มีอำนาจร้องขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งเป็นประการอื่นตามวรรคหนึ่ง

table of contents

Prev Next